Social site เว็บไซต์เพื่อคนออนไลน์
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
ค้นหา
 
 

Display results as :
 


Rechercher Advanced Search

Latest topics
Affiliates
free forum


อิทธิบาท 4

3 posters

Go down

อิทธิบาท 4 Empty อิทธิบาท 4

ตั้งหัวข้อ  drsuntzu Wed Jul 21, 2010 10:13 am

อิทธิบาท 4
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่



drsuntzu
Admin

จำนวนข้อความ : 12
Join date : 21/05/2010

http://drsuntzu.lightbb.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

อิทธิบาท 4 Empty Re: อิทธิบาท 4

ตั้งหัวข้อ  Pink Wed Jul 21, 2010 10:25 am

1 กัลป์ คือ 1 ชั่วอายุคน
จะเป็น 120 ปี หรือประมาณ 100 ปีในสมัยพุทธกาลเท่าที่ผมทราบมาก็ไม่ค่อยสำคัญอะไรนัก

"อานนท์! ผู้อบรมอิทธิบาท 4 มาอย่างดีแล้วทำจนแคล่วคล่องแล้วอย่างเรานี้ ถ้าปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึง 1 กัลป์ คือ 120 ปีก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ "
ใครก็ตามหากมีจุดมุ่งหมายที่ต้องทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น หรือ ความตั้งใจที่จะทำงานอะไรก็ตาม
ขอให้มี
ฉันทะ คือความต้องการที่จะทำอะไรที่ปรารถนาอย่างจริงจัง
วิริยะ คือเพียรกระทำเพื่อมุ่งสู่จุดหมายเต็มที่
จิตตะ คือมีความคิดเอาใจใส่ในงาน ไม่ฟุ้งซ่านคิดเรื่องไร้สาระอื่นๆ
วิมังสา คือ ใช้ปัญญาไตร่ตรอง เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
คงไม่คิดจะตายก่อนหมออายุขัยเป็นแน่
สังเกตุข้าราชการเกษียรดูสิครับ
พอหมดอำนาจ วาสนา ไม่มีอะไรทำ แล้วคิดอะไรฟุ้งซ่าน
อยู่ได้ไม่นานก็เป็นโรคนั้นโรคนี้ โรคทางจิตบ้าง โรคทางกายบ้าง
อายุมักไม่ค่อยยืนนัก
ส่วนคนที่เกษียรแล้วมีงานทำอยู่ ใฝ่ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังบ้าง ทำงานให้องค์การเพื่อสังคมบ้าง
ก็ดูมีความสุขแลอ่อนกว่าอายุที่แท้จริง อายุมักยืนกว่าพวกไม่มีอิทธิบาท ๔ คือในกลุ่มแรกครับ

Pink

จำนวนข้อความ : 3
Join date : 21/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

อิทธิบาท 4 Empty Re: อิทธิบาท 4

ตั้งหัวข้อ  Pink Wed Jul 21, 2010 10:26 am

อิทธิบาท 4 ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน ประกอบด้วย...

1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

ฉันทะ : ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่

อันดับแรกต้องสำรวจตนเองว่า มีความชอบหรือศรัทธางานด้านใด แล้วมุ่งไปในเส้นทางนั้น อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง ฉันทำงานเพื่ออะไร ฉันมีความสุขหรือไม่หากงานที่ทำอยู่ไม่ใช่งานที่รักเสียทีเดียว เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่

อย่างไรก็ตาม เชื่อเถอะว่างานแต่ละอย่างนั้น ไม่มีทางที่ใครจะชื่นชอบไปทั้งหมดทุกกระบวนการ ดังนั้น ถ้าคุณพอใจที่จะทำ และมีความสุขกับงาน เชื่อว่างานที่คุณทำอยู่ต้องออกมาดีแน่ ๆ

วิริยะ : ขยันหมั่นเพียรกับงานที่มี

งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะจึงเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้ ยิ่งคุณขยันเท่าไรผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรักในงานจากฉันทะนั่นเอง และความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเองต่างหาก

ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงอย่างเดียว ลูกน้องก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ เดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็จะสามารถดึงลูกน้องให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย

จิตตะ : เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ

จิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ จิตตะเป็นธรรมะที่แสดงถึงสติ ความรอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้ มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน และขัดขาจนลืมคิดไปว่า งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือสิ่งใดกันแน่ จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว จิตตะจะเป็นเสมือนรั้วของเส้นทางที่ไม่ให้ไขว้เขวออกนอกทางสู่ความสำเร็จได้

อย่างไรก็ดี ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบ มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติจะทำให้หยุดคิดยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอดแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่ธุระของตัวกลับไม่คิดไม่ดู ซึ่งไม่ส่งผลให้งานของเราดีขึ้น พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เป็นนักตรวจตรางาน คือให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า "ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ"

วิมังสา : การพินิจพิเคราะห์และใช้ปัญญาตรวจสอบงาน

สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสา แปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่นเพียงใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างและผิดพลาดจนได้

เราอาจลองทบทวนตัวเองนิ่ง ๆ ว่าวันนี้ทั้งวันเราทำอะไรบ้าง สรุปกับตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เราจะได้มีกำลังใจต่อในวันต่อ ๆ ไป และไม่ทำผิดซ้ำซากอีกเช่นเดิม พร้อมกันนั้นเราจะสามารถเห็นหนทางได้ว่า เส้นทางไหนที่จะนำเราสู่ความสำเร็จได้จริง ๆ

จะเห็นได้ว่า หลักธรรมะที่ใช้ในการทำงาน เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว หากเรานำ อิทธิบาท 4 มาปรับใช้ในการทำงาน รักงานที่ทำ ขยันทำงาน รับผิดชอบงาน และรู้จักไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ทางแห่งความสำเร็จคงไม่เกินเอื้อม...เชื่อเถอะ คุณก็ทำได้ ทุกอย่างอยู่ที่ "ใจ"

Pink

จำนวนข้อความ : 3
Join date : 21/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

อิทธิบาท 4 Empty Re: อิทธิบาท 4

ตั้งหัวข้อ  Pink Wed Jul 21, 2010 10:45 am

อิทธิบาท4; พอใจ-แข็งใจ-ตั้งใจ-เข้าใจ กับการบริหาร

พอจิต ทุกสิ่งล้วน ทำมา
แข็งจิต สู้ปัญหา ไป่ท้อ
ตั้งจิต เพ่งปัญญา พร้อมทั่ว ทำนอ
เข้าจิต คิดทวนข้อ ก่อแก้แลผล


1.พระพุทธองค์ไม่เคยสอนว่าทำบุญมากๆ เพื่อไปสวรรค์ พระธรรมคำสั่งสอนของท่าน ก็คือ ทำบุญบริจาคตามสมควรเพื่อลดละกิเลส จุดประสงค์ของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่การไปสวรรค์ เพราะการไปจุติในเทวโลกหรือพรหมโลกก็ตาม ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ดี ไม่ได้หลุดพ้น พระพุทธองค์ต้องการสั่งสอนให้มนุษย์รู้จักนำพาตนเองให้หลุดไปจากวงจรนี้ เพราะการเวียนว่ายตายเกิดนี้มันเป็นทุกข์ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของการ 'ปฏิบัติ' ไม่ใช่ท่องจำ หรือ สัมฤทธิผลกันโดยใช้ปริมาณความรู้ที่มีอยู่ และด้วยเหตุที่เป็นศาสนาของการปฏิบัติ และรู้ผลได้โดยตนเองเฉพาะตน จึงเป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการเผยแพร่ต้นสายเป็นอย่างไรไม่ทราบแน่ชัด แต่ในปัจจุบันที่เห็นและเป็นอยู่ มีการดึงเรื่อง นรก - สวรรค์, อิทธิฤทธิ์, ปาฏิหาริย์ ฯลฯ เข้ามาผูกพันกับพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแกนให้เกิดศรัทธาอย่างมาก จนเกินพอดี
2.ที่ว่าศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์นั้น ถูกต้องแล้วครับ ประเด็นไม่ใช่ว่า สิ่งใดพิสูจน์ได้หรือไม่ได้ แต่วัดกันตรงความเป็นตรรกะ หรือกระบวนการคิดลำดับเหตุและผล ยกตัวอย่างเช่น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยสัจ 4) เราเป็นทุกข์ หาเหตุแห่งทุกข์ ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ ก็ดับทุกข์ได้ผมอยากฝากให้คิดด้วยครับ คำว่า 'พิสูจน์' ได้หรือไม่ได้ ได้รับอิทธิพลค่อนข้างสูงจากโลกตะวันตก คือมุ่งเน้นสิ่งที่ประจักษ์ต่อ 'สายตา' อย่างจะแจ้ง แต่ไม่ได้มีการนำเอา สัมผัส หรือเห็นด้วย 'จิต' มาเกี่ยวข้องหรือพิสูจน์
3.ปัญหาอย่างหนึ่งของสังคมชาวพุทธในไทยก็คือ ยังขาดการมองภาพรวม และความเข้าใจในจุดประสงค์ของการนับถือศาสนาพุทธ เช่น กิจกรรมทางศาสนา ก็มักจะปฏิบัติตามๆกันไป โดยไม่ฉุกคิดที่มาที่ไป สาเหตุที่ต้องทำ ทำไปเพื่ออะไร และผลที่ได้จากการกระทำ ยกตัวอย่าง 'การทำบุญตักบาตร' ยังเข้าใจในคนหมู่มาก ว่าทำไปเพื่อให้ได้บุญได้กุศล บุญกุศลจะช่วยให้พ้นทุกข์พ้นร้อนในชาตินี้ภพนี้ หรือ เมื่อตายไปก็ได้ขึ้นสวรรค์ทั้งๆที่คำสอนของพระพุทธองค์ก็คือ 'ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน' คำสั่งสอนของท่านไม่มีหรอกครับที่ว่า จงสร้างบุญสร้างกุศลมากๆ แล้วให้รอแต่จะพึ่งบุญ พึ่งกุศลและที่ชอบนำมาล้อกันว่า "…ทำกรรมดีได้ดีมีที่ไหน ทำกรรมชั่วได้ดีมีถมไป…" นั้นก็ผิดเพี้ยนเป็นอย่างยิ่ง เพราะคาบเวลา (Time Frame) ในทางพุทธนั้นกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก คือ ลบอินฟินิตี้ (-∞) จนถึงบวกอินฟินิตี้ (+∞) สิ่งที่คนประกอบกรรมชั่ว แต่กลับได้ดี เช่น นักการเมืองที่โกงกิน แต่กลับได้ดีมีวาสนาเป็นถึงรัฐมนตรี หรือ คนที่ชอบประจบประแจงสอพลอนาย และให้ร้ายป้ายสีเพื่อนร่วมงาน แต่ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งมีตำแหน่งใหญ่โต ที่เห็นกันอยู่นั้น เป็นเพราะผลแห่งกรรมดีที่เขาเคยทำเอาไว้ อาจเป็นในชาตินี้ภพนี้ หรือภพก่อนๆก็เป็นได้ ซึ่งเราก็ไม่อาจทราบว่าเป็นเมื่อไหร่ ที่บังเอิญมาสนองในเวลาปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าเขาทำชั่วประพฤติชั่วแต่กลับได้ดี และแน่นอนว่ากรรมชั่วที่ได้ทำเอาไว้ ก็ต้องสนองตอบอย่างแน่นอนในอนาคต
แล้วที่ผมกล่าวในตอนต้น การขึ้นสวรรค์ ไม่ใช่จุดประสงค์ของการนับถือศาสนาพุทธ การทำบุญตักบาตรนั้น โดยเนื้อแท้ก็คือการลดละกิเลส โดยนำของของตน (ปัจจัย) ไปถวายให้แด่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งท่านได้บวช เพื่อเร่งรัดหนทางในการทำนิพพานให้แจ้ง ท่านไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ให้เกิดการพัวพันวุ่นวายทางโลก อันจะเป็นเครื่องฉุดรั้งหนทางสู่นิพพาน การที่เรานำวัตถุปัจจัย อาหารไปให้ท่าน ก็เพื่อเป็นกำลังบำรุงให้ท่านทำนิพพานให้แจ้งซึ่งความจริง เราๆท่านๆที่เป็นฆราวาสก็ไปถึงได้ เพียงแต่จะไปได้ช้ากว่าท่านมาก เพราะยังต้องประกอบอาชีพ และพัวพันกับกิจกรรมทางโลกมากมาย ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาจนจรดเข้านอนมีเทป และหนังสือธรรมะดีๆ หลายเล่มที่ใช้ภาษาเรียบง่าย ไม่เยิ่นเย้อ ที่รอให้ศึกษา และปฏิบัติธรรมครับ เช่น ท่านพุทธทาส หลวงพ่อปัญญา ฯลฯ ถ้าถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่า ดีหรือไม่ดี ผมอยากตอบว่า แนวทางของสำนักใด เกจิอาจารย์ท่านใดก็ตาม ถ้าปฏิบัติแล้วใจคอสงบเย็นขึ้นๆ ก็ดีทั้งนั้นละครับแต่ถ้าปฏิบัติแล้ว มีแต่ความร้อนรุ่ม มัวเมาในบุญ กระหายในนิพพานด้วยอัตตาแห่งตน ก็มาผิดทางแล้วครับ

Pink

จำนวนข้อความ : 3
Join date : 21/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

อิทธิบาท 4 Empty Re: อิทธิบาท 4

ตั้งหัวข้อ  noom Wed Jul 21, 2010 11:05 am

จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หลักเกณฑ์
หรือกฎที่สังคมใช้ตัดสินว่าการกระทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม ควรปฏิบัติ และการกระทำใดเป็นสิ่งที่
ไม่ควรปฏิบัติ
คุณธรรม (Virtue) หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนในกรอบที่ดีงาม และสามารถ
ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ถูกต้องและเป็นธรรม สอดคล้องกับหลักธรรมและคำสอนของศาสนา
สามารถจำแนกความถูกผิดได้ สามารถอบรมสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามมาตรฐานของพฤติกรรมที่
ถูกต้อง มีสติสัมปัญชัญญะ มีความรับผิดชอบชั่วดี ตามทำนองคลองธรรม มีอุปนิสัย ความตั้งใจ
และเจตนาที่ดีงาม
กฎหมาย (Law) หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือที่

noom

จำนวนข้อความ : 2
Join date : 21/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ